หน้าแรก ข่าวสารและกิจกรรม

การจัดการขยะมูลฝอยตามแนวคิด 3Rs (ตอนที่1)

16 มิถุนายน 2565

วิธีการจัดการกับขยะมูลฝอย ของแต่ละ R

Reduce (ลดการใช้) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเองในการใช้สินค้าและการบริการต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น ขยะที่จะเกิดขึ้น การใช้พลังงานในการผลิต  ความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  ซึ่งพวกเราทุกคนมีส่วนช่วยกันได้ โดยการคิดก่อนซื้อสินค้า  พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีความจำเป็นมากแค่ไหน  หากจำเป็นต้องซื้อควรพิจารณาว่าหลังจากใช้สินค้านั้นแล้วบรรจุภัณฑ์ที่เหลือนำกลับมาใช้ซำ้หรือนำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้หรือไม่เช่น

1 การไปจ่ายตลาด ถ้าเรานำเอาถุงผ้า ถุงกระดาษ หรือประเภทตะกร้าจักสานทีทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ติดมือไปด้วย ก็จะช่วยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกได้
2. การขอถุงใหญ่ใบเดียว แทนการใช้ถุงพลาสติกเล็กๆหลายๆใบ
3.การใช้แก้วนำ้เซรามิค แทนแก้วพลาสติกหรือแก้วกระดาษ
4.ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ฟุ่มเฟือย เช่นสินค้าลดราคาต่างๆ 
5.ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงการเลือกสินค้าชนิดใช้ครั้งเดียวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานต่ำและเป็นอันตราย  เช่นถ่านไฟฉายที่ไม่ได้มาตรฐาน
6.ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำ  ควรเลือกที่มีขนาดใหญ่เพราะคุ้มค่า และใช้บรรจุภัณฑ์ที่น้อยกว่า

นอกจากนี้ยังรวมถึงการลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ  การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต  การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต  และการออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน เป็นต้น

Reuse (การใช้ช้ำ) เป็นหนึ่งในการแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า  นำสิ่งต่างๆที่ใช้งานไปแล้ว ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก  เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่  รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งมีวิธีการต่างๆมากมาย เช่น

1. เลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง เช่น แบตเตอร์รีบรรจุไฟฟ้าใหม่ได้
2. ซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้อีก
3. บำรุงรักษาเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานให้คงทนและยาวนานขึ้น
4. นำบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้อื่นๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น  การนำใช้ช้ำถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ ขวดน้ำดื่ม 
5. ยืมหรือเช่าสิ่งของที่สามารถใช้ได้ร่วมกัน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร  หนังเช่า DVDเช่า
6. บริจาคหรือขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ 
7.การดัดแปลงสิ่งของเหลือใช้ต่างๆ เช่น การนำยางรถยนต์มาทำเก้าอี ,กระถางปลูกต้นไม้  ขวดพลาสติกมาดัดแปลงทำ แจกัน ทำอุปกรณ์เครื่องเขียน เศษผ้านำมาทำผ้าเช็ดเท้า หรือทำผ้าเช็ดรถ เป็นต้น

ปัจจุบันได้มีการกล่าวขวัญถึงการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกันมาก  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิดความนิยมใินสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมซึ่งได้มาจากสิ่งของต่างๆ  ที่ไม่ใช้แล้วกลับมาสร้างมูลค่าให้มากขึ้นด้วยการประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆๆ 

Recycle (รีไซเคิล) กระดาษ แก้ว  พลาสติก เหล็ก อลูมิเนียม   สิ่งเหล่านี้สามารถนำกลับเข้าสู้ระบบการผลิตใหม่เป็นสินค้าชนิดต่างๆ ได้เช่น

1.นำขวดพลาสติก PET มาหลอมเป็นเม็ดพลาสติก และตีเป็นเส้นใยนำมาผลิตเสื้อผ้า พรหม
2.นำขวดน้ำดื่ม ขวดนม แกลลอนน้ำปลา น้ำส้ม แกลลอนล้างไต PE มาหลอมเป็นเม็ดพลาสติก และขึ้นรูป ฉีดเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
3.นำกระดาษที่ใช้แล้วมาแปรรูป และส่งเข้าโรงต้ม แปรสภาพ กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษใช้ใหม่ได้อีก 
4.นำเศษแก้ว ที่ใช้แล้ว นำกลับมาบด ส่งเข้าโรงหลอมแก้ว เพื่่อผลิตแก้วใหม่กลับมาใช้ได้อี
5.นำเศษเหล็กเก่า นำแปรสภาพโดยการหลอม และขึ้นรูป และรีด ออกมาเป็นเหล็กออกมาใช้ได้ใหม่
6.นำเศษโลหะ ประเภทต่างๆ เช่นอลูมิเนียม นำมาคัดแยกตามชนิด และส่งเข้าแปรสภาพ โดยการหลอม และนำกลับมาผลิตสินค้าได้ใหม่

ดังนั้นการคัดแยกขยะรีไซเคิล แต่ละประเภท ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก  โลหะ /อโลหะ   เพื่อง่ายต่อการนำไปแปรรูป หรือการนำไปรีไซเคิลนั้นเอง